ไขปริศนาโค้ด: Sara Inés Calderón
แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกจากเส้นทางอาชีพในวงการ STEM ของเธอ
เส้นทางสู่วิทยาการคอมพิวเตอร์ของ Sara Inés Calderón เต็มไปด้วยจุดหักมุมและเรื่องราวมากมาย แต่เมื่อเธอมาถึงแล้ว เธอมาถึงจริง ทุกวันนี้ หลังจากเป็นที่ปรึกษา วิศวกรซอฟต์แวร์ นักเขียน นักพูด และผู้บริหารร่วมของ Women Who Code Austin มาหลายปี Sara มีประสบการณ์ที่เข้มข้นมากมายที่จะมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวงการของเธอ เมื่อไม่นานมานี้ Sara หาเวลาแบ่งปันความคิดกับทีม Logitech MX สำหรับซีรีส์ #WomenWhoMaster เกี่ยวกับสไตล์การเรียนรู้ ความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ในงานที่ใช้ตรรกะสูง และและวิธีการหาที่ให้ตัวเองในวงการ STEM
ถาม: หลายคนสนใจใน STEM ตั้งแต่แรกเริ่ม บอกเราหน่วยว่า คุณเป็นคนชอบคอมพิวเตอร์แต่เริ่มต้นตั้งแต่เด็กเลยไหม?
ไม่เลยค่ะ ฉันเข้าสู่วงการเทคโนโลยีตอนโตแล้ว แต่พ่อของฉันเป็นนักวิชาการ ดังนั้นฉันได้ใช้แพลตฟอร์มอีเมลและ command line เร็ว ก่อนที่ America Online เริ่มส่งซีดีซอฟต์แวร์เสียอีก ฉันได้มีโอกาสจับพวกนั้นเล่นตอนสมัยประถม และแน่นอนว่า ฉันชอบ Nintendo และคอนโซลเกมยุค 90 ซึ่งฉันเล่นกับน้องชาย แต่ฉันเป็นเนิร์ดหนังสือมากกว่า โตขึ้นมาฉันได้อ่านและเขียนมากมาย แล้วบังเอิญว่า ฉันคิดว่าการเขียนและการอ่านเกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมและเทคโนโลยีมากกว่าที่หลายคนตระหนัก มีแนวคิดที่ว่า คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นวิธีเดียวในการขัดเกลาทักษะตรรกะและการแก้ไขปัญหา แต่การอ่านและการเขียนก็มีตรรกะและการแก้ไขปัญหาอยู่มากนะคะ
แต่ตอนที่ฉันเรียนมัธยม ฉันไม่รู้ว่าวิทยาการคอมพิวเตอร์คืออะไร ฉันเข้าเรียนที่ Stanford ในต้นยุค 2000 และที่นั่นเองที่ฉันได้เห็นวัฒนธรรมที่เทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางและเริ่มคิดเรื่องเศรษฐศาสตร์ แม้ว่าจะเป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับฉัน ฉันศึกษาด้านสื่อในระดับวิทยาลัยและทำงานเป็นนักข่าว และนั่นเองที่นำไปสู่การสร้างเทคโนโลยี ระหว่างที่เป็นนักข่าว ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและสื่อเริ่มใกล้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นแฟ้น ดังนั้นการเปลี่ยนไปสู่วงการ STEM ไม่ได้เป็นการตัดสินใจที่รู้ตัวมากเท่ากับพัฒนาการตามธรรมชาติเพื่อให้ก้าวทันยุคสมัย
ถาม: การเรียนรู้ชุดทักษะใหม่ทีหลังเป็นเรื่องยากกว่าคนอื่นส่วนใหญ่ในวงการหรือไม่?
แน่นอนว่ามีช่วงที่ลำบากค่ะ ฉันได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนเขียนโค้ดที่ชื่อ Sabio ที่อยู่ในลอสแองเจลิส ห้องเรียนฉันมีอยู่ 8 คน แต่ทุกคนเขียนโค้ดเก่งกว่าฉันตอนนั้น บางครั้งฉันรู้สึกท้อเกี่ยวกับความสามารถ แต่ที่จริงแล้วช่วงนั้นเองที่สอนบทเรียนสำคัญให้กับฉันว่า เราฉลาดเท่ากันที่มีความเข้าใจในวิชาอย่างรวดเร็ว แต่บางคนแค่ต้องการเวลาทำความเข้าใจ หรือต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมนิดหน่อยเพื่อเรียนรู้แนวคิดบางอย่าง
เราต่างกรองและซึมซับข้อมูลแตกต่างกัน เราแต่ละคนมีจุดแข็งต่างกัน และถ้าคุณต้องใช้เวลาเพิ่มเติม นั่นไม่ได้กีดขวางคุณจากการเป็นคนเก่งในบางเรื่องหรือทำงานได้ดีในวงการนั้น
ถาม: ถ้าคุณไม่ใช่นักเขียนโค้ดที่เรียนที่สุดในโลก คุณสมบัติอะไรที่ช่วยคุณได้ในสายงาน STEM โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง?
จากประสบการณ์ของฉัน ผู้หญิงเก่งเรื่องการสื่อสาร และนั่นเป็นคุณค่าที่ยังถูกมองข้ามไป การสื่อสารเป็นศิลปะของการช่วยเหลือให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย ใช่ไหมคะ? หากขาดความฉลาดทางอารมณ์ ที่ทำให้แน่ใจว่าแนวคิดของคุณสมเหตุสมผลในสายตาผู้อื่น การสื่อสารคงไม่สำเร็จและงานคงไม่เสร็จ ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่า ทักษะทางสังคม ที่จริงแล้วช่วยแก้ไขปัญหาการขาดประสิทธิภาพได้ และฉันคิดว่า สิ่งนั้นเองที่มักขาดไปในองก์กรวิศวกรรม เพราะผู้ชายมักเป็นผู้ดำเนินการ และไม่มีใครพูดว่า “ฉันชอบวิธีที่ Sara สื่อสารปัญหา เพราะช่วยให้หาทางแก้ไขได้รวดเร็ว” พวกเขาพูดว่า “ดูสิ Dave อยู่ทั้งคืนแถมยังทำงานตลอดวันเสาร์อาทิตย์ เพื่อทำโค้ดพวกนั้นให้เสร็จ” แต่ฉันจะบอกว่า
สิ่งหนึ่งที่ผู้หญิงนำมาก็คือ พวกเธอช่วยอำนวยความสะดวกให้การสื่อสารที่ดีค่ะ ซึ่งสร้างประสิทธิภาพแทบจะอัตโนมัติ
ประเด็นที่สองที่ฉันจะบอก ซึ่งเชื่อมโยงกับประเด็นแรกก็คือ งานเอกสาร ฉันสร้างเอกสารทุกที่ที่ฉันไป และอีกครั้ง เอกสารให้อะไรกับองค์กรละ? เอกสารให้ประสิทธิภาพ เมื่อมีเอกสาร ผู้คนจะเข้าใจตรงกันมากขึ้นและสร้างแนวทางวิธีการทำงานที่ดีที่สุด ไม่ว่าคุณจะจัดการกับเทคโนโลยีอะไรอยู่ก็ตาม และฉันคิดว่า การสร้างเอกสารเป็นนิสัยจะเป็นประโยชน์มากให้ผู้คนเข้าสู่วงการ STEM ได้
และสุดท้าย ฉันบอกได้ว่า มีอคติที่ว่าผู้หญิงต้องเติบโตแบบอ้อมๆ ขณะกำลังหาทางในเขาวงกตแห่งการเรียนรู้การทำงานในวงการเทคโนโลยี ผู้หญิงในวงการนี้ ผู้ที่อยู่มานานพอสมควรแล้วคงจะทำงานหนักหรืออดทนมากกว่าค่าเฉลี่ย และนั่นก็เป็นคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์เหมือนกัน ไม่ว่าจะยุติธรรมหรือไม่
ถาม: ทุกวันนี้ มีหลายคน รวมถึงผู้หญิงวัยรุ่นที่ต้องการเป็นครีเอเตอร์หรือทำงานตามตารางเวลาของตัวเอง คุณเคยทำทั้งงานประจำและงานฟรีแลนซ์ คุณมีคำแนะนำสำหรับคนที่ต้องการไปทางนั้นไหม? พวกเขาควรเลือกความเชี่ยวชาญไหม? ควรหาเครือข่ายมากขึ้นไหม?
ฉันชอบได้ว่ามีวิธีมากกว่าหนึ่งทาง สำหรับฉัน การเลือกสายเฉพาะทางเป็นวิธีที่ง่ายกว่า ฉันมีเทคโนโลยีนิชที่กำลังทำอยู่ ซึ่งชื่อว่า React Native และเป็นการใช้ JavaScript ในการสร้างแอปมือถือ ฉันทำมันมา 5 ปี ซึ่งเป็นเวลาพอสมควรเลยสำหรับเทคโนโลยีนั้น และทำให้ฉันอยู่ในกลุ่มระดับสูงแล้ว ดังนั้นทุกอย่างสำหรับฉันออกมาดีค่ะ แต่กับเทคโนโลยีทั้งหมด คุณต้องพร้อมเปลี่ยนแปลงเพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้ มีกรอบงาน JavaScript อีกอย่างที่เป็นที่นิยมมากชื่อว่า Angular ก่อน Angular เคยมี jQuery ดังนั้น เราต้องพร้อมเสมอ
แต่การเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ไม่ได้จำเป็นเสมอไป ถ้าคุณอยากเป็นฟรีแลนซ์ คุณสามารถเลือกแนวทางแบบกว้างๆ แล้วบอกว่า “ฉันจะเรียนรู้ทุกอย่างในเทคโนโลยีสามสี่อย่างนี้” นั่นก็อาจออกมาดีก็ได้สำหรับคุณ แต่คุณจะไม่ได้ค่าแรงสูงเท่ากับสายเฉพาะทาง ดังนั้นแต่ละตัวเลือกก็มีข้อดีและข้อเสีย และถ้าคุณคิดว่า “ฉันควรจะเชี่ยวชาญเรื่องอะไรละ?” คุณก็อาจลองลุยทุกงาน และหยิบจับงานหลาย ๆ อย่างสำหรับเทคโนโลยีต่าง ๆ
ฉันบอกได้ว่า การมีเครือข่ายเป็นเรื่องที่ดี องค์กร เช่น Girls Who Code และ Women Who Code สามารถเป็นสหายที่ยอดเยี่ยมและเป็นตัวขับเคลื่อนเครือข่ายของคุณ ตัวอย่างเช่น Women Who Code Austin มีแชนแนล Slack ที่มีสมาชิกนับพันคน ดังนั้นทุกสัปดาห์จะมีคนพูดขึ้นมาว่า “เฮ้ ทกคน เรามีตำแหน่งเปิด สมัครมาเลย แล้วฉันจะแนะนำภายในให้” ถ้าคุณกำลังหางานหรือหาโอกาส องค์กรเฉพาะทางทุกประเภทเหมาะมากสำหรับเรื่องนั้นค่ะ
ถาม: เราสร้างความก้าวหน้าให้กับผู้ได้เป็นอย่างดีในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา คุณเห็นว่าอุตสาหกรรมโดยรวมกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนในช่วงสิบปีข้างหน้า?
เป็นคำถามที่น่าสนใจนะคะ ฉันคิดว่า การทำงานระยะไกลจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม และอาจให้สภาพแวดล้อมที่ยอมรับความแตกต่างสำหรับผู้หญิงมากขึ้น ถ้าคุณเป็นผู้หญิงที่ต้องเดินทางไปรับไปส่งลูก เป็นต้น นั่นอาจทำให้คุณทำงานบางอย่างไม่ได้ แต่การทำงานระยะไกลทำให้ขีดจำกัดพวกนั้นบางส่วนผ่อนคลายได้บ้าง
นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างการระดมทุนประเภทต่าง ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว เช่น คราวด์ซอสซิ่งและการลงทุนรูปแบบใหม่ สิ่งเหล่านี้อาจสร้างโอกาสให้แก่ผู้หญิงและคนผิวสีมากขึ้น ทั้งในการเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง และเพื่อหาโครงการที่น่าตื่นเต้นให้กับทีมวิศวกรที่หลากหลาย ไม่ว่าในกรณีไหน ฉันเชื่อว่าเราจะเห็นสิ่งที่ต่างออกไปจากที่เราเคยเห็นมาค่ะ!
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Sara โดยเข้าชมไซต์ของเธอที่นี่
ติดตามเธอทาง Twitter ที่ @SaraChicaD หรือใน LinkedIn
เธอยังเป็นอาสาสมัครของ Women Who Code Austin ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นชุมชนสำหรับผู้หญิงมืออาชีพในสายงานเทคโนโลยีอีกด้วย
Women Who Master ฉายแสงให้กับผู้หญิงที่มีคุณูปการในวงการ STEM เป้าหมายของซีรีส์นี้คือเพื่อชื่นชมการมีส่วนร่วมเหล่านี้ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้นำในอนาคต และช่วยปิดช่องว่างระหว่างเพศในวงการเทคโนโลยี
เครดิตภาพถ่าย: Sara Inés Calderón
#WOMENWHOMASTER
พบกับผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของวงการ STEM
Faiza Yousuf
Gabby Llanillo
Aisha Bowe
WOMEN WHO MASTER
Logitech MX มุ่งมั่นที่จะฉายแสงและสนับสนุนโครงการริเริ่มที่สร้างผลลัพธ์และบุคคลที่เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมทั่วโลก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่เด็ก ๆ และผู้หญิงให้ไขว่คว้าอาชีพหรือก้าวต่อไปอย่างรุ่งเรืองในวงการ STEM
#WomenWhoMaster มีภารกิจคือการจุดประกายขบวนการทั่วอุตสาหกรรมที่แก้ไขความเหลื่อมล้ำทางเพศและการเข้าถึงโอกาสอย่างไม่เท่าเทียมในวงการเทคโนโลยีและไอที